เคลือบแก้วคืออะไร แล้วดีอย่างไร ?
คาร์แคร์ของเรามีความชำนาญพร้อมให้บริการภายใต้คอนเซ็ปต์The Perfection is in The Detailมุ่งเน้นการบริการด้านคุณภาพเป็นหลักและผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด
เริ่มต้นกับการทำความรู้จัก เคลือบแก้ว หรือ Glass Coating คืออะไร ?
การเคลือบ หรือ Coating หมายถึง การฉาบผิว การห่อหุ้ม นั่นเอง!
แก้ว คือ ภาชนะที่ใช้กินน้ำ บางคนมองถึงเนื้อของ สสาร ที่ให้คุณลักษณะเป็นความมันวาว ซึ่งจริงๆแล้วแก้ว คือ การนำสารอนินทรีย์ มาหลอมละลายด้วยความร้อนและขึ้นรูปด้วยความเย็น จนเป็นภาชนะ แต่ก็มีข้อเสียตรงความแข็งแรงน้อยและแตกหักง่าย เพราะด้วยความที่การขึ้นรูปทำโดยเปลี่ยนอุณภูมิอย่างรวดเร็วทำให้โมเลกุล ไม่มีเวลาเรียงตัวกัน ทำให้ไม่แข็งแรง และแตกหักง่ายนั่นเอง
จากนั้นได้มีการพัฒนาแก้ว กันอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น แก้วเซรามิก เป็นการนำสารในกลุ่ม เซรามิก (Traditional Ceramics หรือ Engineering Ceramics) โดยทั่วไปนิยมนำสารตั้งต้นอย่าง ซิลิคอนไดออกไซด์ (SiO2-silicon dioxide หรือชื่อเล่นของมันก็ที่เรารู้จักกันก็ ซิลิก้า ในกลุ่ม Traditional Ceramics ) มาเป็นสารตั้งต้นและให้ความร้อนและขึ้นรูปด้วยวิธีที่ทันสมัยขึ้น จนทำให้แก้วแข็งแรงขึ้น ด้วยความที่โมเลกุลเรียงตัวกันแน่นขึ้นเป็นระเบียบขึ้น
หรือแก้วคริสตัล แก้วไทเทเนียมที่ ที่มีพัฒนาการให้ความร้อนและการขึ้นรูปรวมถึงการเติมตะกัว เติมตะกั่ว (จากวัตถุดิบเช่น ลิธาจ;Litharge) และกลายเป็น PbO หรือเติม TiO2 เพื่อให้แก้วหนักขึ้น และได้เนื้อแก้วยืดหยุ่นเหนียวและแวววาว ก็เช่นกัน
หลังจากได้รู้จักกับความหมายของคำว่า เคลือบ และคำว่า แก้ว แล้วเราคงพอสรุปได้กับคำถามที่ว่า Glass Coating เคลือบแก้ว คืออะไร
เคลือบแก้ว คืออะไร เคลือบแก้วก็คือ การนำสารเคมีที่ใช้เป็นสารตั้งต้นในการ ผลิตแก้วอย่าง SiO2 หรือ ซิลิก้า มาใช้ เคลือบผิวรถบนชั้นแลคเกอร์ หรือ Clearcoat นั่นเองเพื่อให้ได้คุณสมบัติความแข็งและทนเคมีของสารตั้งต้นอย่าง SiO2 หรือ ซิลิก้า ในด้านความแข็งแรงกว่าแก้วทั่วไป ของการเรียงตัวของอะตอมหรือโมเลกุล รวมถึงทนเคมีทนความร้อน และยึดเกาะอย่างคงทนถาวรยาวนาน ( Permanent ) มากกว่าการเคลือบสี เคลือบ Wax ทั่วไป
ส่วนพวกเคลือบคริสตัล เคลือบไทเทเนียม ทั้งหลายก็อาศัยการผสมสารต่างๆ เช่นตะกั่ว, ลิธาจ,ไทเทเนียม เหล่านี้เพิ่มเข้าไปเพื่อให้ได้ชื่อว่าเป็น เคลือบคริสตัล Crystal coating ,เคลือบไทเทเนียม Titanium coating หรือบางคนอาจ จะใช้เหตุที่ SiO 2 ( ซิลิก้า ) ที่ใช้ผลิตแก้ว จัดเป็นสารตัวหนึ่งในกลุ่มเซรามิกดั้งเดิม (Traditional Ceramics ) มาเรียกน้ำยาเคลือบแก้วดังกล่าวว่า เคลือบเซรามิค Ceramic coating ก็ได้และไม่ผิด
ซึ่งเหล่านี้ก็แล้วแต่ใครจะเอามาทำการตลาด ในรูปแบบ ไหนให้น่าสนใจ ตามแต่ละเทคนิคการขายของแต่ละร้าน แต่ต้องบอกว่าหากน้ำยา เคลือบแก้วที่ใช้ยังคงมีสารตั้งต้นเป็น ซิลิคอนไดออกไซด์ (SiO2-silicon dioxide หรือ ซิลิก้า ) ล้วนให้ผลลัพท์หรือประโยชน์ที่ไม่ต่างกันในความเป็นจริงตามคุณสมบัติของสารตั้งต้น ส่วนจะต่างกันก็เพียงมุมการตลาดเท่านั้น แต่ไม่นับรวมพวกน้ำยาเคลือบเซรามิก หรือเรียกให้เข้าใจง่ายว่าน้ำยาเคลือบแก้ว ที่ไม่ได้ผลิตจากซิลิก้า ไม่ว่าจะเป็นพวก สารเคลือบผิวยานอวกาศ พวก SiC ( ซิลิกอน คาร์บาย ) ที่มีค่าความแข็งและทนเคมีกรดด่างและความร้อนสูงกว่า SiO2 หรือพวก Boron Nitride หรือ ไทเทเนียม บางตัวที่ ใช้เคลือบ วัสดุอุตสาหกรรม ที่มีคุณสมบัติของสารตั้งต้นที่ต่างกัน จะไม่จัดอยู่ในกลุ่มที่ถูกเรียกว่า Glass coating ด้วยเหตุทั้งคุณสมบัติและสารตั้งต้นที่ใช้ผลิตนั่นเอง แต่จะถูกเรียกได้เพียง เคลือบเซรามิก Ceramic coating เท่านั้น ไม่สามารถเรียกว่า เคลือบแก้ว Glass coating ได้ ด้วยคุณสมบัติและราคาของสารประกอบที่ไม่ได้เหมือนสารที่ใช้ผลิตแก้ว อย่าง ซิลิก้า (SiO2 ) อย่างสิ้นเชิง
แนะนำให้อ่านบทความ เคลือบแก้วและเคลือบเซรามิก แตกต่างกันอย่างไร ?
ประโยชน์ของ เคลือบแก้ว( Glass Coating ) เคลือบเซรามิค ( Ceramic Coating )
เคลือบคริสตัล เคลือบไทเทเนียม หรือจะเรียกใดๆ ก็ตามมีประโยชน์ค่อนข้างหลายประการแต่ทั้งนี้ อาจจะแตกต่างกันด้านผลที่ออกมาอาจจะดีเสียกว่ากันในบางข้อ ตามคุณสมบัติของสารตั้งต้น ที่ใช้ผลิตน้ำยาเคลือบนั้นๆ โดยประโยชน์หลักๆ ของ เคลือบแก้ว มีประโยชน์ ดังนี้
ให้ความเงาใส ที่ติดทนยาวนานกว่าการเคลือบสีทั่วๆไป ( Permanent Glossy)
ให้ความปกป้อง เคมี ต่างๆที่จะทำให้สีรถ เกิดความเสียหายไม่ว่าจะ กรดหรือด่าง ( Chemical Resistant )
เป็นรอยยากขึ้นจากผิวรถเดิม 2-4 เท่าเมื่อเทียบกับผิวแลคเกอร์เดิมโรงงานและบางแบรนด์ มีคุณสมบัติ ฟื้นฟูรอยขนแมวที่ไม่ลึกมากได้เองด้วยความร้อนเหมือนการ ติดสติ๊กเกอร์กันรอย ( Self Healing )
เปื้อนยาก และล้างง่าย ( Self Cleaning )
น้ำและสิ่งสกปรกมักวิ่งเป็นเม็ดกลมๆ เหมือนน้ำบนใบบัว ซึ่งข้อนี้ต้องบอกว่าเป็นทั้งข้อดีและข้อเสีย เนื่องจากหากรถวิ่ง น้ำและสิ่งสกปรกมักหลุดออกจากตัวรถโดยง่าย แต่หากรถจอดนิ่งๆ เฉยๆ มักมีมวลน้ำเป็นก้อนกลมๆ เตรียมไหลออกอยู่บนผิวรถ และหากเจอแดดเผาอาจจะทำให้เกิดคาบน้ำบนผิวชั้นเคลือบแก้วได้
การยึดเกาะของชั้นเคลือบที่ให้ความเงาและปกป้องที่ยาวนาน ราว 3-7 ปีแล้วแต่ยี่ห้อที่ใช้
ทั้งนี้ยังมีคุณสมบัติอีกมากมายที่ผู้ขายมักโฆษณา เกินจริงไม่ว่าจะเป็นการกันรอย 100% แข็งดั่งเพชร หรือไม่ต้องล้างรถด้วยแชมพูอีกต่อไป ซึ่งล้วนเป็นการโฆษณาที่เกินจริงซึ่งอาจเกิดจากความเข้าใจผิดของผู้ขายหรือ อยากขายมากเกินไป ผู้บริโภคเองก็ควรใช้วิจารณญาณ ในการตัดสินใจทำเคลือบแก้ว กับร้านที่มีผู้เชี่ยวชาญและผ่านการศึกษาการทำ เคลือบแก้วอย่างจริงจัง มีขั้นตอนมาตรฐานในการรักษาแลคเกอร์ให้มากที่สุด รวมถึงหาน้ำยาเคลือบแก้วที่มีคุณสมบัติที่ดี และเป็นที่ยอมรับในสากลประหนึ่งเรากำลังเลือกเครื่องสำอางใช้กับหน้าเรานั่นเอง